ในบทความนี้จะพูดถึง การรีไฟแนนซ์ หากเราตัดสินใจแล้วว่าการรีไฟแนนซ์จะทำให้เราได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง และเป็นช่องทางการะดมทุนได้อีกท...

รอบรู้การคืนเงินก่อนระยะเวลากำหนด

/
0 Comments




ในบทความนี้จะพูดถึงการรีไฟแนนซ์ หากเราตัดสินใจแล้วว่าการรีไฟแนนซ์จะทำให้เราได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง และเป็นช่องทางการะดมทุนได้อีกทาง ซึ่งแน่นอนว่าต้องผ่านการพิจารณาของผู้ลงทุนมาแล้วอย่างรอบคอบ เพราะผู้ลงทุนต้องใช้หลักการบริหารการเงินในทุก ๆ ทางเพื่อจะให้เสียดอกเบี้ยให้น้อยที่สุดในการลงทุน และก็มักจะกลัวกับการที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการคืนเงินก่อนกำหนดให้กับธนาคารอีกด้วย

การคิดค่าธรรมเนียมค่าปรับการชำระเงินคืนก่อนกำหนดนั้น เป็นสิ่งที่ธนาคารสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายตามประกาศ ธปท. เมื่อเดือน ส.ค.2551 กำหนดให้ธนาคารจะสามารถคิดเบี้ยปรับเงินในการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น

  • กรณีลูกค้ากู้ยืมสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว แต่ต้องการไถ่ถอนสินเชื่อเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่นหรือรีไฟแนนซ์ (Refinance) ภายในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา หากเป็นกรณีอื่น ๆ เช่น ไถ่ถอนเพื่อขาย จะคิดค่าปรับไม่ได้

  • กรณีลูกค้ากู้ยืมสินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยคงที่ ที่อัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนทุกรอบ 3 ปี หรือ 5 ปี เพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น หรือกรณีที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนไปใช้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวก่อนครบรอบสัญญาดังกล่าว แบบนี้ธนาคารจะสามารถคิดค่าปรับได้

เนื่องจากการที่สถานบันการเงินต้องกำหนดค่าธรรมเนียมเอาไว้เช่นนี้ เป็นเพราะว่าสถาบันการเงินเองก็ย่อมต้องการกระแสเงินสดมาหมุนเวียนในองค์กรด้วยเช่นกัน หากผู้ลงทุนรีไฟแนนซ์เพื่อต้องการดอกเบี้ยที่ถูกลง ตามมาด้วยการชำระคืนก่อนกำหนด เพราะไม่ต้องการผ่อนชำระในขณะที่ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหลังจากพ้นกำหนด 3 หรือ 5 ปีนั้น จะทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการค่าใช้จ่ายของสถาบันการเงินได้ เนื่องด้วยก็ยังคงต้องมีค่าใช้ในด้านการปฏิบัติการต่าง ๆ ตามมา

ดังนั้นหากผู้ลงทุนต้องการระดมเงินทุน หรือประหยัดดอกเบี้ย ก็ต้องคำนวณให้แน่ชัดว่าจะสามารถผ่อนชำระอสังหาฯ นั้นไปได้นานถึง 3 หรือ 5 ปี จึงจะปิดยอดและนำอสังหาฯ ไปขายเพื่อเปลี่ยนมือได้ การวางแผนดังกล่าวนี้จะมีความคุ้มค่าหรือไม่นั้น ก็ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนด้วย หากระหว่างผ่อนชำระนี้ อสังหาฯ สามารถทำเงินได้เลยโดยการปล่อยให้เช่า และค่าเช่าก็สามารถผ่อนชำระกับสถาบันการเงินได้เต็มจำนวน ก็จะทำให้ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์จากการลงทุนได้เลยทันที   

แต่หากผู้ลงทุนตัดสินใจปิดยอดก่อนกำหนด ด้วยเหตุผลความคุ้มค่าใด ๆ ก็ตาม ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่หากค่าปรับในการชำระคืนก่อนกำหนดมีสัดส่วนมากจนเกินไปไม่คุ้มค่า จะใช้วิธีการผ่อนชำระมากว่าค่างวดที่กำหนดไว้ก็จะเป็นการลดต้นทุนในการปิดยอดไปได้อีกเช่นกัน

TAG : การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ , รีไฟแนนซ์อสังหาริมทรัพย์




You may also like

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.